โครงงานคอมพิวเตอร์
คือ
ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน
โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โครงงานจึง เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อ โครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
และความรู้ด้าน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้
อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้
- เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
- นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า พัฒนาด้วยตนเองตามความสนใจและระดับความรู้ความสามารถ
- นักเรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า ตลอดจนการพัฒนาเก็บรวบรวมข้อมูลหรือประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้งการสรุปผล และการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีครูอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา
- เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
- นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า พัฒนาด้วยตนเองตามความสนใจและระดับความรู้ความสามารถ
- นักเรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า ตลอดจนการพัฒนาเก็บรวบรวมข้อมูลหรือประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้งการสรุปผล และการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีครูอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา
การทำโครงงานคอมพิวเตอร์มีขอบเขตกว้างขวางมาก ตั้งแต่เรื่องที่ง่าย ๆ
ไปจนถึงเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน โครงงานคอมพิวเตอร์บางเรื่องอาจใช้เวลาสั้นในการพัฒนา
จนถึงเรื่องที่ใช้เวลาเป็นภาคเรียนหรือปีการศึกษา โครงงานคอมพิวเตอร์บางเรื่องเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยจนถึงนับพันบาท
นักเรียนจึงควรศึกษารายละเอียดและงบประมาณต่างๆ ของโครงงานก่อน จึงค่อยเลือกทำโครงงานที่เหมาะสมกับระดับความรู้
ความสามารถ และความสนใจของนักเรียน โดยทั่ว ๆ ไป การทำโครงงานคอมพิวเตอร์จัดเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ทุกระดับการศึกษา
โดยอาจจะทำเป็นกลุ่มหรือทำเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักเรียนแต่ละคนแต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ
จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ไม่ได้อยู่ที่การส่งเข้าประกวดเพื่อรับรางวัล แต่เป็นโอกาสที่นักเรียนจะได้ประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ตลอดจนการแสดงผลงานของตนเองเพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและผู้ที่สนใจในชุมชนเมื่อมีการจัดกิจกรรมของโรงเรียนหรืองานอื่น ๆ
จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ไม่ได้อยู่ที่การส่งเข้าประกวดเพื่อรับรางวัล แต่เป็นโอกาสที่นักเรียนจะได้ประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ตลอดจนการแสดงผลงานของตนเองเพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและผู้ที่สนใจในชุมชนเมื่อมีการจัดกิจกรรมของโรงเรียนหรืองานอื่น ๆ
ประโยชน์ของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
1. ได้เรียนรู้แนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำโครงงาน
2. ส่งเสริมกระบวนการคิด การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ
3. ได้รับประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหา
4. ส่งเสริมให้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์และสร้างสรรค์
หลักการสำคัญของการเรียนรู้แบบโครงงาน
1. ต้องเกิดจากความอยากรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนมีความสนใจหรือต้องการคำตอบในเรื่องนั้นๆ
2. ผู้เรียนเป็นผู้เลือกวิธีการเรียนและแหล่งการเรียนรู้
3. ผู้เรียนวางแผนปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
มีวัตถุประสงค์ชัดเจนและปฏิบัติตามขั้นตอน
4. มีการใช้กระบวนการต่างๆ
เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ และผู้เรียนเป็นผู้สรุปองค์ความรู้
5. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
6. ผู้เรียนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับผู้อื่น
7. ต้องมีการนำเสนอเพื่อรายงานผลการศึกษาจากการทำโครงงาน
8. ต้องมีการประเมินผลเพื่อให้เกิดการพัฒนางาน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงาน1. ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงาน ประสานงาน การวางแผนการทำงาน
2. ทำให้กล้าคิด กล้าแสดงออก ต่อที่ประชุมชนมากขึ้น
3. ทำให้รู้จักหน้าที่ และมีความรับผิดชอบมากขึ้น
4. ทำให้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
5. ทำให้รู้จักการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
6. ทำให้เกิดการพัฒนาความคิด และรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
7. ทำให้รู้จักการแบ่งเวลา และการตรงต่อเวลา
8. ทำให้รู้จักการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
9. ทำให้รู้วิธีการทำงานต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการทำงาน
คุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
1.
สร้างความสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาและพัฒนาระบบด้วยตนเอง
2.
เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา
ค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องที่นักเรียนสนใจได้ลึกซึ้งกว่าการเรียน
ในห้องตามปกติ
ในห้องตามปกติ
4. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด
การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน
5.
กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิชาสาขาคอมพิวเตอร์
และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางด้านนี้
6.
ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
7.
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูและชุมชน
รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสนใจคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
8. เป็นการบูรณาการเอาความรู้จากวิชาต่าง
ๆ ที่ได้รับมาจัดทำผสมผสานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นโครงงานเพื่อนำเสนอต่อชุมชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น