ทรัพยากรสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ตและการสืบค้น

  เว็บบราวเซอร์  (Web  Browser )
Web Browser เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเลือกดูเอกสารในระบบอินเตอร์เน็ตที่เป็น WWW ซึ่ง  Web  Browser นั้นจะต้องเชื่อมต่อไปยัง  เว็บเซิร์ฟเวอร์  หรือ  โฮสต์  เพื่อเรียกข้อมูลที่ต้องการ
Web  browser  เป็นเครื่องมือทีใช้ในการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตที่สำคัญ ข้อดีของ  Web Browser  สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างสวยงาม  มีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมิเดียต่าง ๆ  ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความ   น่าสนใจมากขึ้น  ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน
            

 ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
                        ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต  ได้แก่
-       ใช้ในการติดต่อสื่อสาร  โดยผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์  หรือที่เรียกว่า    E – Mail (Electronics  mail)  ซึ่งมีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการติดต่อด้วยวิธีอื่น ๆ
-          แหล่งค้นคว้าข้อมูลขนาดใหญ่  เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่  หรือเปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดสาธารณะนั่นเอง

-          แหล่งรวมโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมต่าง ๆ  มาใช้ได้  โดยมีทั้งแบบเสียค่าใช้จ่ายและแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย
-          การถ่ายโอนข้อมูลที่มีขนาดใหญ่  หรือจากสถานที่ที่ระยะทางอยู่ห่างไกลกัน
-          ใช้สนทนาพูดคุยโต้ตอบกันโดยผ่านทางแป้นพิมพ์และจอภาพ
-        แหล่งรวมความบันเทิงต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป้นภาพยนต์  ดนตรี  และเกมที่สามารถเล่นโต้ตอบกันผ่านทางเครือข่ายได้
-          เป็นเครื่องมือในการติดต่อซื้อขายทางธุรกิจ  ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก  ก็คือ  E – Commerce

  ข้อจำกัดและผลกระทบของอินเตอร์เน็ต
            ข้อจำกัดของอินเตอร์เน็ต  ได้แก่
-          ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น  เพราะจะต้องเสียค่าไฟฟ้าและค่าโทรศัพท์ในการต่ออินเตอร์เน็ตในแต่ละครั้ง
-       จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้  ผู้ใช้จึงค่อนข้างเป็นผู้ที่มีกำลังทรัพย์ในการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์

ผลกระทบของอินเตอร์เน็ต
-    อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาได้  เพราะการจ้องมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ
-    หากใช้ไปในทางที่ไม่ถูกต้องก็เกิดผลเสียแก่ตัวผู้ใช้เอง ได้  เช่น เว็บไซด์ที่เป็นไปในทางลามกอนาจารและการลักลอบขโมยข้อมูล  เป็นต้น

ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ต
 มาตรฐานที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ก็คือ โปรโตคอล  ซึ่งโปรโตคอลที่เรานิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ก็คือ โปรโตคอลที่ชื่อว่า  TCP/IP  TCP/IP  คือ ภาษากลางบนอินเตอร์เน็ต  ทำให้เครื่องสามารถเข้าใจกันได้ สิ่งที่ช่วยให้เรารู้ที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็คือ  ไอพีแอดเดรส  (IP  Address )  เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง  ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลกโดยมีจุด  (.)  เป็นสัญลักษณ์แบ่ง      ตัวเลขเป็นชุดจะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 255
ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ตก็คือ  เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่ออยู่บนอินเตอร์เน็ต  จึงจะสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้ถูกต้อง ตัวอย่าง  ไอพีแอดเดรส  เช่น  202.44.202.3
ถึงแม้อินเตอร์เน็ตจะใช้ไอพีแอดเดรสในการทำงาน  แต่เป็นตัวเลขที่ยาวทำให้ผู้ใช้จำยาก  จึงมีการใช้โดเมนเนมมาใช้ซึ่งเป็นตัวอักษรที่จำง่ายมาใช้แทนไอพีแอดเดรส  โดเมนเนมจะไม่ซ้ำกัน  และมักถูกตั้งให้สอดคล้องกับชื่อบริษัท องค์กร  เช่น  nasa.gov  เป็นต้น
ความหมายของโดเมนเนม  ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นได้จำแนกเป็น  6  ประเภท
1.   .com          - กลุ่มองค์การค้า (Commercial)
2.    ede            - กลุ่มกี่ศึกษา (Education)
1.      .mit         - กลุ่มองค์การทหาร (Military)
2.      .net          - กลุ่มองค์การ  บริการเครือข่าย(Network  Services)
3.      .org             - กลุ่มองค์กรอื่น ๆ(Organizations)
4.      .int              - หน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ (International)
ตัวอย่าง เช่น
www.ipst.ac.th  เป็นเว็บไซต์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาสาสตร์และเทคดนโลยีซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษา  จึงใช้โดเมนย่อยเป็น .ac  และ .th  หมายถึง  Thailand  นั่นเอง
ความหมายของโดเมนย่อยในไทย
”           .ac       สถาบันการศึกษา (Academic)
”           .co       องค์กรธุรกิจ(Commercial)
”           .or        องค์กรอื่น ๆ(Organization)
”           .net      ผู้วางระบบเน็ตเวิร์ก  (Networking)
”           .go       หน่วยงานของรัฐบาล(Government)


รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมีดังนี้
1.      เครื่องคอมพิวเตอร์  CPU  Pentium  233  ขึ้นไป
2.      หน่วยความจำ  (RAM)  64  MB. ขึ้นไป
3.      ฮาร์ดดิสก์ความจุ  1.2  GB.ขึ้นไป
4.      จอภาพแบบ  SVGA
5.      โมเด็มความเร็วตั้งแต่  33.6  Kbps-56 Kbps
6.      โทรศัพท์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ  1  คู่สาย
 การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ทั่วไป
จะใช้สายโทรศัพท์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของเรา  เข้ากับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า  โมเด็ม  (Modem )  วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เพราะสายโทรศัพท์นั้นมีอยู่ทั่วไปและไม่ยุ่งยาก  แต่มีข้อเสียคืออาจเกิดสัญญาณรบกวนภายในสาย  ทำให้การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต  หลุด”  ได้
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้จำนวนมาก
            จะใช้สาย  Lease  Line  ซึ่งเป็นสายส่งข้อมูลเช่ารายเดือน  การโอนย้ายข้อมูลจะมีความเร็วสูงกว่าการใช้โทรศัพท์  การเชื่อมต่อแบบนี้เหมาะสำหรับบริษัทหรือองค์กรที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมาก  หรือต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา  เพื่อให้บริการข้อมูลเท่านั้น เพราะค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเชื่อมต่อแบบส่วนบุคคลมาก
            ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต
            -  ISP (Internet  Service  Provider )  หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต สิ่งสำคัญในการใช้อินเตอร์เน็ต ก็คือ การจัดการอินเตอร์เน็ตมาใช้  ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก  ดังนั้นผู้ใช้จะต้องพิจารณาเลือกรายการที่ดีที่สุด  สำหรับลักษณะของการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นแบ่งได้เป็นการใช้อินเตอร์เน็ตที่สถานศึกษาหรือองค์กร  หากคุณอยู่ในสถานศึกษาก็อาจจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้ฟรีหรือเสียค่าบริการเป็นเทอมซึ่งจะสะดวกและประหยัดได้มาก  ส่วนในองค์กรส่วนใหญ่นั้นจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อยู่แล้ว
       - การใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้าน จำเป็นจะต้องพิจารณาผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นสำคัญ โดยคุณสามารถทำได้ดังนี้
1.    ซื้อแบบ  Package มาทดลองใช้  ซึ่งแบบนี้จะจำกัดชั่วโมงและจำกัดระยะเวลาในการใช้ เช่น 3  เดือน  6  เดือน  เป็นต้น
2.    สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน  ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการให้บริการในลักษณะนี้มากขึ้น  คือ ผู้ใช้เสียค่าบริการเป็นรายเดือน  และสามารถเล่นได้ไม่จำกัดชั่วโมงภายใน  1  เดือน  วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ
1.ตรวจสอบดูว่ามีบริการใดให้บ้าง  เพราะผู้ให้บริการบางรายให้บริการแต่  WWW แต่ไม่ให้บริการ  E – Mail

แหล่งที่มา https://www.l3nr.org/posts/292895



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น